บำรุงรักษาเชิงแก้ไข คืออะไร
ก็คือ ระบบการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง โดยหัวใจสำคัญของกระบวนการดังกล่าว ได้แก่การลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของเครื่องจักร รวมไปถึงการลดต้นทุนในการซ่อมแซมเครื่องจักรเพื่อยืดอายุการใช้งานให้อุปกรณ์การผลิตของเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้แบบไม่ขาดตอน รวมไปถึงการเพิ่มคุณภาพของสินค้าที่ทางโรงงานเป็นผู้ผลิตให้ดีขึ้นกว่าเก่า
วิธีดูแลรักษาเครื่องจักรด้วย Corrective Maintenance : CM
ปกติแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะเริ่มมองหาวิธีการรักษาเครื่องจักร เมื่อชิ้นส่วนภายในเกิดความเสียหาย แต่ Corrective Maintenance จะเป็นการเริ่มดูแลเครื่องยนต์ต่างๆ ในขณะที่เครื่องจักรยังสามารถใช้งานได้ปกติผ่านการบำรุงรักษาสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุสำคัญที่เราควรดูแลเครื่องจักรตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นเพราะว่าหากเราใช้งานไปแล้วตัวเครื่องดันเกิดอาการขัดข้องในขณะที่เราเตรียมการงบประมาณทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าทางโรงงานจะต้องนำเงินส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้มาปรับปรุงเครื่อง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมักจะนำไปสู่การเสียทุนทรัพย์โดยเปล่าประโยชน์
นอกจากจะต้องบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องแล้ว สิ่งที่ corrective maintenance ให้ความสำคัญคือการตรวจสภาพเครื่องจักรต่างๆ อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด, ขันน๊อตหรือสกรูต่างๆ ให้แน่น และใส่น้ำยาหล่อลื่นให้ถูกวิธี รวมไปถงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ต่างๆ ภายในเมื่อถึงเวลาตามช่วงที่ควรจะเช็คระยะ
ผลกระทบเมื่อต้องเจอกับงาน Corrective Maintenance : CM บ่อยๆ
- เรื่องต้นทุนในงานซ่อม (Maintenance Cost) เครื่องจักรที่อยู่ดีๆเกิดความผิดปกติ หรือพังเสียหาย (Break down) จะมีแนวโน้มที่ค่าซ่อมจะสูงกว่าการวางแผนเปลี่ยนซ่อมก่อนที่จะเกิดความเสียหาย
- ในแง่ของการสูญเสียโอกาสในการผลิต (Lost of Production Opportunity) ถือว่ารุนแรงมากสำหรับโรงงานผลิต เพราะ กำไรของโรงงาน รวมถึงความน่าเชื่อถือของทางคู่ค้า (Vendor) จะลดลง
- Avalibility, MTBF ของเครื่องจักรลดลง และ Unplanned down time จะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของโรงงานนั้นๆลดลง
การวางแผนป้องกันเพื่อลดจำนวนงาน Corrective Maintenance CM
- การวางแผน PM (Preventive Maintenance) ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรนั้นๆ
- การกำหนดแผน PdM (Predictive Maintenance) ที่มีคุณภาพ และได้มาตราฐานในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักรนั้นๆ
- การกำหนดแผนกลยุทธโดยองค์รวมให้เหมาะสมโดยใช้เครื่องมือ เช่น RCM (Reliability Center Maintenance), RBI (Risk Base Inspection) TPM (Total Productive Management) และ SIF (Safety Integrity Level) เป็นต้น เพื่อเข้ามาจัดการระบบงานซ่อม และระบบผลิตทั้งระบบ
- การจัดการระบบบริหารด้วยระบบ CMMS หรือ (Computerized Maintenance Management System) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาเก็บข้อมูล แจ้งเตือน และวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกลยุทธในงานซ่อม (Maintenance Strategy) ได้อย่างเหมาะสม
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
- ตรวจเครน
- ANSI คืออะไร
- OSHA คืออะไร
- บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
- บำรุงรักษาโดยรวม (Total Productive Maintenance)